วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
     ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
     ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้...
อ่านต่อ

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและชาติต่าง ๆ มากกว่าที่เคยเป็นในอดีต เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ต้องพึ่งพากันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และพัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีผลให้โลกดูจะมีขนาดเล็กลง ซึ่งผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีต่อด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อสังคมโลก รัฐ ประชาชนและผู้นำของประเทศความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น อาจพิจารณาได้ว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดในโลก ในเรื่องนี้คำตอบที่ได้รับค่อนข้างชัดเจน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนบนผืนโลกดังกล่าวต่อไปนี้

อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน
      ความหมายของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน(Human Rights) หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนภายหลังที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้ว คำว่า สิทธิมนุษยชน จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่ง เช่นในอารัมภบท ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของสหประชาชาติไว้ว่าเพื่อเป็นการยืนยันและให้การรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ"
      ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
ในยุคโบราณซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบาก ทุกหนแห่งมีความไม่เสมอภาคกัน มนุษย์ถูกแบ่งเป็นชนชั้น ชนชั้นล่างจะถูกเอารัดเอาเปรียบและ อ่านต่อ

องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทด้านสิทธิมนุษยชน
องค์กรระหว่างประเทศในโลกนี้มีมากมาย และหลายประเภทมากแต่ก่อนอื่นที่เราจะมาดูว่าองค์กรเหล่านี้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้นเราต้องมาดูก่อนว่า องค์กร ระหว่างประเทศนั้นคืออะไร องค์การระหว่างประเทศ (International Organizations) หมายถึง โครงสร้างหรือสถาบันที่เป็นทางการ (formal) ถูกสร้างขึ้นโดยข้อตกลงระหว่างรัฐหรือไม่ใช่รัฐก็ได้ เพื่อบรรลุจุดประสงค์และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งองค์การระหว่างประเทศจะตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างสอง "รัฐ"ขั้นไป
หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศก็คือ...อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

กฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
                นักเรียนเป็นเด็กและเยาวชนย่อมอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายเช่น้ดียวกับบุคคลอื่นๆ มิได้ยกเว้นว่า ถ้าเป็นเด็กหรือเยาวชนฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว จะไม่ต้องรับโทษหรือไม่มีความผิด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมายให้เข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายมีหลายประเภท กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัวที่นักเรียนจะได้ศึกษาในชั้นเรียนนี้ แยกกล่าวเป็น 2 ประเด็นคือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
     กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
     กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
                ชื่อบุคคล เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะตัวบุคคล บุคคลที่มีสัญชาติไทย กฎหมายกำหนดให้ต้องมีชื่อบุคคล ซึ่งประกอบด้วยชื่อตัวและชื่อสกุล และ...อ่านต่อ

ข้อตกลงระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่าง ประเทศเป็นหลักกฎหมายหรือข้อตกลงร่วมกันที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศเริ่มต้นตั้งแต่สมัยโบราณก่อนคริสต์กาล นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มรวมตัวเป็นชุมชนสืบต่อมาในสมัยกลาง สมัยใหม่จนถึงสมัยปัจจุบัน โดยเริ่มจากการปฏิบัติต่อกันจนกลายเป็นจารีตประเพณี สนธิสัญญา และแนวคิดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ
   กฎหมายระหว่างประเทศหมายถึงกฎเกณฑ์ที่ ใช้บังคับในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันนอกจากรัฐแล้วยังมีองค์การระหว่างประเทศอีกด้วย อีก...อ่านต่อ



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

รัฐ
     รูปแบบของรัฐ
รัฐ หรือรัฐประชาชาติ โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ รัฐเดี่ยว กับรัฐรวม
          1. รัฐเดี่ยว เป็นรัฐที่มีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองอาณาเขต หรือดินแดนทั้งหมด ประชาชนที่อยู่ในรัฐถือว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน รัฐอาจจะจัดระบบการปกครองให้มีหน่วยปกครองระดับรองกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้บริการหรือให้ความสะดวกแก่คนในรัฐ รัฐเดี่ยวนี้แม้จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง หรือดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นรูปแบบของการปกครองตนเอง หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นมาจากส่วนกลาง คือ … อ่านต่อ

ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์


 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับยืนยันความเป็นประมุขสูงสุดของพระมหากษัตริย์ โดยบัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ หมายความว่า ผู้ใดจะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ผู้ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง รัฐธรรมนูญบางฉบับถึงกับไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
          การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมือง และ...อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

พลเมือง

พลเมืองดี
     ความหมาย
       พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น
     ความสำคัญ
      พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึง อ่านต่อ

คุณลักษณะของพลเมืองดี
     ลักษณะของพลเมืองดี
        การเป็นพลเมืองดีจะมีลักษณะอย่างไรนั้น สังคมจะเป็นผู้กำหนดลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อที่จะได้พลเมือง ที่ดี ต้องการังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกในสังคมก็จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐานและคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้
       คุณสมบัติพื้นฐาน คือ คุณสมบัติทั่วไปของการเป็นพลเมืองดี เช่นขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด
รับผิดชอบ มีเหตุผล โอบอ้อมอารี มีเมตตา เห็นประโยชน์ส่วนรวมมีความสำคัญเสมอ
       คุณสมบัติเฉพาะ คือ คุณสมบัติเฉพาะอย่างที่สังคมต้องการให้บุคคลพึ่งปฏิบัติ เช่น …อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมไทย
การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคนให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป 
"วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ...อ่านต่อ

 วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์แห่งโลกไร้พรมแดนที่คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว  และล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆทั่วโลกได้ง่าย  ผ่านทางโทรศัพท์  อินเทอร์เน็ต  และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติหรือวัฒนธรรมสากลเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น การเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่แพร่เข้ามาอย่างมีวิจารณญาณจึงเป็นสิ่งสำคัญ  โดยพิจารณาได้จากปัจจัย ดังนี้ … อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
อ่านต่อ


ปัญหาสังคมไทย 
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
     สาเหตุของปัญหาสังคม
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น 
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้ … อ่านต่อ